สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 19-25 กันยายน 2565

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืช โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้สู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร (ข้าวพันธุ์ กข43 และข้าวเจ้าพื้นนุ่ม) โครงการรักษาระดับปริมาณและคุณภาพข้าว โครงการเพิ่มปริมาณ
น้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ระบบส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรกรรม และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นแข็ง และพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์ และข้าว GAP ครบวงจร
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก โครงการส่งเสริมผลักดันการส่งออกข้าว และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทย เพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการ ลด/แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าข้าวไทยและเสริมสร้างความเชื่อมั่น
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทยในงานแสดงสินค้านานาชาติ และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
(5) การประชาสัมพันธ์รณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(6) การประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในกลุ่มผู้บริโภคในต่างประเทศผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อรักษาราคาข้าวเปลือกให้มีเสถียรภาพ
โดยให้มีการเก็บข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เพื่อชะลอผลผลิตออกสู่ตลาดพร้อมกันเป็นจำนวนมาก เป้าหมายจำนวน 2 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาทข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 15,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2564/65 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มีนาคม 2565 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2565) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,625 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,635 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.07
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,290 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,163 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 31,250 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,810 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.43
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,950 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 897 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,071 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 881 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,029 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.82 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,042 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 446 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,443 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 444 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,142 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.45 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 301 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 458 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,886 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 459 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,687 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 199 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 36.8688 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
2.1 สถานการณ์ข้าวโลก
1) การผลิต
ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์ผลผลิตข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือนกันยายน 2565 ผลผลิต 507.993 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 515.077 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2564/65 หรือลดลงร้อยละ 1.38
2) การค้าข้าวโลก
บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดการณ์บัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2565/66 ณ เดือน
กันยายน 2565 มีปริมาณผลผลิต 507.993 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 1.38 การใช้ในประเทศ 519.318 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ร้อยละ 0.22 การส่งออก/นำเข้า 53.725 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก
ปี 2564/65 ร้อยละ 0.97 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 173.563 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปี 2564/65 ร้อยละ 6.13
โดยประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ออสเตรเลีย กายานา ปารากวัย ไทย และเวียดนาม ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกลดลง ได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล กัมพูชา จีน อียู อินเดีย ปากีสถาน ตุรกี และอุรุกวัย
สำหรับประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น ได้แก่ ไอเวอรี่โคสต์ อียู กานา เม็กซิโก โมซัมบิก เนปาล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ส่วนประเทศที่คาดว่าจะนำเข้าลดลง ได้แก่ จีน อียิปต์ อิรัก มาลี ฟิลิปปินส์ เซเนกัล และเวียดนาม
ประเทศที่มีสต็อกคงเหลือปลายปีเพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย ไนจีเรีย และฟิลิปปินส์ ส่วนประเทศที่มี
สต็อกคงเหลือปลายปีลดลง
ได้แก่ จีน อินเดีย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา
2.2 สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ

          ไทย: อคส. ประมูลข้าวสต็อกรัฐ 1.27 แสนตัน ล็อตสุดท้ายแพงสุด 10.20 บาท/กิโลกรัม
องค์การคลังสินค้า (อคส.) เปิดประมูลข้าวสารสต็อกรัฐล็อตสุดท้าย 1.27 แสนตัน จากทั้งหมด 2.18 แสนตัน เผยขายหมดเกลี้ยง ราคาดี สูงสุดกิโลกรัมละ 10.20 บาท หรือตันละ 10,200 บาท ทำรายได้รวมเกือบ 900 ล้านบาท
เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2565 นายเกรียงศักดิ์ ประทีปวิศรุต ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า เปิดเผยว่า อคส. ได้เปิดให้ผู้สนใจยื่นประมูลข้าวในสต็อกรัฐบาล จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปีและนาปรังในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเก็บในคลังกลางที่ อคส. ดูแลอยู่ในส่วนที่เหลือล็อตสุดท้ายอีก 218,000 ตัน ซึ่งเป็นข้าวที่ติดปัญหาต่าง ๆ หรือสูญหาย
ไปจากบัญชีแต่เพิ่งแก้ปัญหาได้
โดยเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา อคส. ได้เปิดให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติยื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวสาร
ในสต็อกรัฐบาล และกำหนดเปิดซองเสนอราคาวันเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ ข้าวสารในสต็อกรัฐเข้าสู่อุตสาหกรรม
ที่ไม่ใช่การบริโภคของคนและสัตว์ จากโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 นาปี ปี 2555/56 และปี 2556/57 มีทั้งข้าวเหนียว 10% ข้าวขาว 5% ข้าวขาว 10% ปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ปริมาณ 114,395 ตัน ทั้งนี้ ยังมีข้าวสารในสต็อกรัฐที่ขายเป็นการทั่วไป เป็นข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2 ปี 2555/56 ปริมาณ 1,627 ตัน และข้าวสารที่โกดังและคลังสินค้าค้างส่งมอบเข้าโกดังกลาง เป็นข้าวหอมมะลิ ข้าวท่อนหอมมะลิ และปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ปี 2548/49 และปี 2554/55 ปริมาณ 11,506 ตัน รวมทั้งสิ้น 127,100 ตัน
“ประมูลข้าวล็อตสุดท้ายนี้ มีผู้เสนอซื้อครบทั้ง 127,100 ตัน ถือว่าได้ราคาดีมาก เช่น ข้าวเข้าอุตสาหกรรมราคาสูงสุดถึงกิโลกรัมละ 10.20 บาท หรือตันละ 10,200 บาท น่าจะสูงกว่าที่เคยขายได้ ผู้ซื้อกล่าวว่า ปัจจุบันหาวัตถุดิบมาทำเอทานอลยากมาก โดยเฉพาะมันสำปะหลัง ส่วนข้าวหอมมะลิราคาสูงถึงตันละ 13,262 บาท และข้าวค้างส่งมอบสูงสุดตันละ 5,580 บาท ซึ่งการขายข้าวครั้งนี้มีรายได้เงินถึง 880 ล้านบาท”
ส่วนข้าวสารที่เหลืออีกกว่า 90,900 ตัน เป็นข้าวที่ยังมีภาระอยู่ เพราะเจ้าของคลังที่ อคส. เช่าฝากเก็บยังยึดหน่วง ไม่ยอมให้ผู้ชนะประมูลในช่วงที่ผ่านมาเข้าไปขนข้าวออกจากโกดัง ทั้งๆ ที่ได้ทำสัญญาซื้อขายกับ อคส. ไว้แล้ว
ข้าวที่เกิดความเสียหาย และบริษัทประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ และข้าวที่ค้างรับมอบ ซึ่งจะเร่งรัดให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบให้เสร็จภายในเดือนกันยายน 2566 สำหรับข้าวที่ถูกยึดหน่วง อคส. ได้ส่งฟ้องร้องเพื่อให้ศาลสั่งให้ปล่อยข้าว รวมถึงได้เร่งรัดให้บริษัทประกันภัยเร่งรัดการจ่ายค่าสินไหมให้ อย่างไรก็ตาม ในการขนย้ายข้าวออกจากโกดัง หากผู้ชนะประมูล พบว่า ข้าวในคลังที่ตนเองซื้อไปมีน้ำหนักไม่ตรงกับบัญชีที่รับข้าวออกจากโกดังตั้งแต่แรก หรือน้ำหนักขาดหายไปเกินอัตรา
เผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนดไม่เกินร้อยละ 1 โกดังและคลังที่ฝากเก็บข้าวจะต้องรับผิดชอบความเสียหาย ไม่เช่นนั้น อคส. ต้องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายต่อไป
พ.ต.อ.สุรพงศ์ เปล่งขำ รองผู้อำนวยการ อคส. กล่าวว่า ผู้ชนะการประมูลซื้อข้าวสารในสต็อกรัฐ ทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก ข้าวเปลือกและข้าวสารที่โรงสีค้างส่งมอบโกดังกลาง ปี 2548/49 มีผู้ชนะ 1 ราย เสนอซื้อที่ตันละ 2,501 บาท ส่วนปี 2554/55 เป็นรายเดียวกัน ให้ราคาตันละ 5,580 บาท ส่วนการขายเป็นการทั่วไป มีผู้ชนะ 2 ราย โดยรายแรกเสนอซื้อ 1,189 ตัน ให้ราคาตันละ 12,526 บาท รายที่ 2 เสนอซื้อ 438 ตัน ให้ราคาตันละ 13,262 บาท และข้าวสารเข้าสู่อุตสาหกรรม มีผู้ผลิตเอทานอลชนะประมูลทั้งหมด 6 ราย ให้ราคาตั้งแต่ 5,030 - 10,232 บาท
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2565 อคส. ได้ประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูล และเชิญมารับฟังรายละเอียดแนวทางปฏิบัติก่อนการทำสัญญา โดยกำหนดทำสัญญาภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจาก อคส. และผู้ชนะประมูลข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผู้ผลิตเอทานอลทั้งหมด ก่อนทำสัญญาต้องยินยอมให้ อคส. ตรวจสอบโรงงาน และร่วมวางแผนการผลิต รวมทั้งอนุญาตติดตั้งระบบเทคโนโลยีการควบคุมการตรวจสอบ การผลิต การขนย้ายด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้มีการนำข้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมมาวนขายในตลาดทั่วไปสำหรับคนบริโภค โดย อคส. จะร่วมกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมทางหลวง ตำรวจทางหลวง กรรมการระดับจังหวัด กรมการค้าภายใน กำหนดมาตรการควบคุมการขนย้ายข้าวจากโกดังมายังบริษัท หรือโรงงานของผู้ชนะประมูล เช่น รถบรรทุกต้องติดจีพีเอส โรงงานปลายทางต้องมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด (ซีซีทีวี) รวมถึงต้องแจ้งแผนการผลิต การขนย้าย ซึ่งมั่นใจว่ามาตรการนี้จะควบคุม และป้องกันไม่ให้เอาข้าวไปเวียนขายในตลาดปกติได้แน่นอน
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

          อินเดีย: จับตาผลสะเทือนโลก เมื่ออินเดียคุมเข้มส่งออกข้าว
เมื่อวันที่ 9 กันยายนที่ผ่านมา“อินเดีย” ประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดของโลก คิดเป็นร้อยละ 40 ของปริมาณการค้าข้าวในตลาดโลก ได้ประกาศคุมเข้มการส่งออกข้าวหลายชนิด
โดยกระทรวงการคลังอินเดีย ระบุเหตุผลไว้คลุมเครือเพียงว่า ยังคงมีสภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดความจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้สามารถดำรงชีพได้ ซึ่งตามประกาศดังกล่าว ทางการอินเดียเรียกเก็บค่าธรรมเนียม
การส่งออกข้าวเพิ่มขึ้นรวดเดียวร้อยละ 20 สำหรับข้าวขาวที่ไม่ผ่านการสี ข้าวกล้อง และข้าวที่ผ่านการสีบางส่วนหรือทั้งหมด ซึ่งแทบจะเป็นการยุติการส่งออกโดยปริยาย โดยไม่รวมถึง “ข้าวบัสมาติ” ซึ่งเป็นข้าวขึ้นชื่อของอินเดียแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่มีการชี้แจงอย่างเป็นรูปธรรม แต่เป็นที่รู้กันทั่วไปว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของทางการอินเดียเกิดขึ้นเพราะเหตุใด
ปัญหาของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี “นเรนทรา โมดี” คือ ภาวะเงินเฟ้อที่มีสาเหตุหลักมาจากสงครามในยูเครน และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ระบบซัพพลายเชนมีปัญหา จนก่อให้เกิด “ความไม่มั่นคงด้านอาหาร” ตามมา
“อโศก กุลติ” ศาสตราจารย์ประจำสภาเพื่อการวิจัยเศรษฐสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อธิบายว่า การติดเบรกส่งออกข้าวในครั้งนี้ จะช่วยยับยั้ง “ภาวะเงินเฟ้อของธัญพืชภายในประเทศ” ไม่ให้ปรับสูงมากไปกว่าที่เป็นอยู่ ประกอบกับที่ผ่านมา “อินเดีย” ส่งออกข้าวออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 40 ของข้าวที่ซื้อขายกันทั่วโลก การส่งออกดังกล่าวเกิดขึ้นได้ เพราะรัฐบาลช่วยจัดสรรงบประมาณอุดหนุนราคาพลังงานและปุ๋ย เพื่อให้อินเดียยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดได้ คราวนี้ ถึงเวลาแล้วที่จะดึงราคาข้าวในตลาดโลกให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อ “ถอนทุนคืน” ในส่วนของการอุดหนุนดังกล่าว
ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ ปีนี้อินเดียประสบปัญหาดินฟ้าอากาศ ฝนตกไม่สม่ำเสมอ บางครั้งตกหนักจนก่อให้เกิดความเสียหาย บางครั้งเกิดฝนทิ้งช่วงซึ่งเป็นปัญหาสำหรับการเพาะปลูกของเกษตรกร รวมทั้งเกิดความกังวลว่า ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกในฤดูกาลนี้จะลดลงกว่าฤดูกาลปกติ จนอาจก่อให้เกิดปัญหาราคาธัญพืชและสินค้าอาหารอื่นๆ ในประเทศปรับสูงขึ้นได้ ขณะเดียวกับที่ราคาสินค้าอาหารนำเข้าก็ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน
ปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อของอินเดียอยู่ที่ประมาณร้อยละ 7 ซึ่งสูงกว่าเงินเฟ้อเป้าหมายของธนาคารกลางอินเดีย
ที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 4 - 6 แม้จะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยถึง 3 ครั้งแล้วก็ตาม
ที่ผ่านมา “รัฐบาลอินเดีย” เคยใช้วิธีห้ามการส่งออกข้าวสาลีและน้ำตาลมาแล้ว แต่ยังชะลอการดำเนินการ
แบบเดียวกับข้าวออกไปก่อน ส่วนหนึ่งเพราะราคาข้าวในประเทศไม่ได้ปรับสูงอย่างรวดเร็วเหมือนข้าวสาลีและน้ำตาล
ในปีงบประมาณ 2563 - 2564 ซึ่งเป็นปีล่าสุดที่มีสถิติ อินเดียส่งออกข้าวมูลค่าประมาณ 8,800 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับข้าวทั่วไปที่ไม่ใช่ข้าวบัสมาติของอินเดีย คือ เนปาล บังกลาเทศ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิรัก มาเลเซีย และแอฟริกาตะวันตก
ผู้สันทัดกรณีในแวดวงค้าข้าวเชื่อว่า การควบคุมส่งออกข้าวของอินเดียครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อประเทศ
ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลกรองลงมาอย่างไทยกับเวียดนาม ที่น่าจะขยับการส่งออกแทนที่อินเดียในตลาดดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ผลสะกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมากับตลาดข้าวของโลก คือ ราคาข้าวจะปรับตัวสูงขึ้นอีกครั้งอย่างแน่นอน แม้ว่าตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ราคาข้าวแทบทุกชนิดจะปรับลดลงมาบ้างแล้ว
ในด้านของประเทศผู้บริโภค ราคาข้าวที่ปรับตัวสูงขึ้นอาจกลายเป็นปัญหาอีกระลอก ที่ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อของสินค้าอาหาร ขณะที่ราคาพลังงานยังคงกดดันอย่างมากและต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการชำระหนี้ของประเทศ เมื่อการจัดสรรงบประมาณสำหรับสินค้าอาหารจำเป็นต้องเพิ่มมากขึ้น
ข้อมูลของสหประชาชาติแสดงให้เห็นว่า วิกฤตพลังงานและอาหารกำลังก่อให้เกิดปัญหาเพิ่มมากขึ้นกับหลายประเทศ ถึงขนาดต้องดิ้นรนเพื่อหาเงินมาชำระหนี้ให้ได้ตรงตามกำหนดเวลา และกว่าครึ่งหนึ่งของประเทศที่สหประชาชาติจัดว่ายากจนที่สุด ตกอยู่ในสถานการณ์หนี้ หรือไม่ก็กำลังเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดปัญหาหนี้ขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำ ซึ่งครัวเรือนจำเป็นต้องใช้เงินสำหรับซื้อหาอาหารประทังชีวิต คิดเป็นร้อยละ 42 ของรายได้ที่ได้รับในแต่ละเดือนนั่นเอง
ที่มา ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
 
กัมพูชา: กัมพูชาเผยรายได้ส่งออกยางพาราและข้าว ในช่วง 8 เดือนแรก แตะ 544 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
กรมยางพาราของกัมพูชาเปิดเผยว่า ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกยางพาราแห้งและข้าวขาว ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีศักยภาพของประเทศ คิดเป็นมูลค่ารวม 544.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
รายงานระบุว่า กัมพูชาส่งออกยางพาราแห้ง ช่วงเดือนมกราคม - สิงหาคม รวม 194,014 ตัน มูลค่า 301.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2564 แต่มูลค่าลดลงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับปี 2563
ฮิม อึน อธิบดีกรมฯ ระบุว่า ยางแห้ง 1 ตัน มีราคาเฉลี่ย 1,553 ดอลลาร์ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2565 ราคาต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปี 2564 ประมาณ 119 ดอลลาร์สหรัฐฯ
สหพันธ์ข้าวกัมพูชา (CRF) เปิดเผยว่า กัมพูชาส่งออกข้าวขาวไปยัง 56 ประเทศ และภูมิภาค ปริมาณรวม 389,000 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับปี 2564 และทำรายได้ทั้งหมด 242.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แปน โสวิเชต โฆษกและปลัดกระทรวงพาณิชย์กัมพูชา ระบุว่า ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) มีผลบังคับใช้แล้วในช่วงที่ผ่านมาของปี 2565 ส่งผลให้สถิติการส่งออกขยายตัวในช่วงเวลาดังกล่าว
โสวิเชตกล่าวกับสำนักข่าวซินหัวว่า “RCEP มีส่วนกระตุ้นการส่งออกของกัมพูชาให้เติบโตในระยะยาวต่อไป ซึ่ง RCEP ทำให้เข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น โดยเฉพาะสำหรับสินค้าเกษตรที่มีศักยภาพของกัมพูชา”
ที่มา สำนักข่าวอินโฟเควสท์

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.20 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.38 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.92 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.76 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.68
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 11.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 11.77 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 324.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,953.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 327.00 ดอลลาร์สหรัฐ (11,881.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.92 แต่สูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 72.00 บาท

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ คาดคะเนความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของโลก ปี 2565/66 มีปริมาณ 1,180.18 ล้านตัน ลดลงจาก 1,200.40 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 1.68 โดย จีน บราซิล เม็กซิโก อินเดีย อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา  และยูเครน มีความต้องการใช้ลดลง สำหรับการค้าของโลกมี 184.68ล้านตัน ลดลงจาก 193.82 ล้านตัน ในปี 2564/65 ร้อยละ 4.72 โดย บราซิล แอฟริกาใต้ และปารากวัย ส่งออกลดลง ประกอบกับผู้นำเข้า เช่น สหภาพยุโรป เม็กซิโก เวียดนาม อิหร่าน แอลจีเรีย ซาอุดีอาระเบีย เปรู บังกลาเทศ และไทย มีการนำเข้าลดลง
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนธันวาคม 2565 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 684.00 เซนต์ (10,044.00 บาท/ตัน) ลดลงจากบุชเชลละ 697.00 เซนต์ (10,095.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.87 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 51.00 บาท



 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2565 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.179 ล้านไร่ ผลผลิต 34.691 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.408 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 10.406 ล้านไร่ ผลผลิต 35.094 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.372 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิต ลดลงร้อยละ 2.18 และร้อยละ 1.15 ตามลำดับ แต่ผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.07 โดยเดือนกันยายน 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.42 ล้านตัน (ร้อยละ 4.08 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2565 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2565 ปริมาณ 20.48 ล้านตัน (ร้อยละ 59.04 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูการเก็บเกี่ยว หัวมันสำปะหลังออกสู่ตลาดน้อย สำหรับโรงงานแป้งมันสำปะหลัง
เป็นช่วงการปิดเพื่อปรับปรุงเครื่องจักร
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.70 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.68 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.75
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.97 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 6.98 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.14
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.98 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.10 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10,010 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,850 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 490 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,170 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (17,880 บาทต่อตัน)


 


ปาล์มน้ำมัน

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2565 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกันยายนจะมีประมาณ 1.315 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.237 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.511 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.272 ล้านตันของเดือนสิงหาคม คิดเป็นร้อยละ 12.97 และร้อยละ 12.87 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 4.93 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.08 บาทในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.95
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.75 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
การนำเข้าน้ำมันปาล์มของอินเดียอาจสูงขึ้นถึงร้อยละ 23 ในปี 2565/66 ไปอยู่ที่ 9.50 ล้านตัน ซึ่งจะเป็นการนำเข้าสูงสุดในรอบ 8 ปี โดยเป็นผลมาจากการบริโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นและราคาที่แข่งขันได้
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 3,697.70 ริงกิตมาเลเซีย (30.51 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 3,710.69 ริงกิตมาเลเซีย (30.48 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.35  
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,045 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38.97 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,067 ดอลลาร์สหรัฐฯ (39.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.06
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ

         
ไม่มีรายงาน

2. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ


          Czarnikow รายงานว่า ราคาน้ำตาลทรายขาวซื้อขายล่วงหน้าเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี และราคาระยะสั้นยังคงสูงกว่าราคาระยะยาว เนื่องจากอุปทานทรงตัว และความต้องการที่ยังไม่ลดลงตามที่คาดการณ์ แม้ว่าจะมีการซื้อขายอยู่ ซึ่งคาดว่าสถานการณ์จะยังไม่คลี่คลายเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากสหภาพยุโรปและอังกฤษกำลังประสบปัญหาภัยแล้งและต้นทุนพลังงานที่สูง ซึ่งอาจจะส่งผลให้การผลิตน้ำตาลทรายขาวลดลง 1 ล้านตันในปีนี้
          เทรดเดอร์ท้องถิ่นอินเดีย กล่าวว่า ราคาน้ำตาลขายส่งลดลงเล็กน้อยท่ามกลางอุปสงค์ที่ต่ำ ในขณะที่โรงงานน้ำตาลต่าง ๆ ต้องการใช้โควตาในเดือนของตัวเองให้หมด โดยสมาคมพ่อค้าน้ำตาลบอมเบย์ กล่าวว่า อุปสงค์อาจจะเพิ่มขึ้นหลังจากสิ้นสุดเทศกาลในวันที่ 25 กันยายน นอกจากนี้กลุ่มเกษตรกรยังขอให้รัฐบาลรัฐปัญจาบขึ้นราคาอ้อยเป็น 4,500 รูปี/ตัน (56.4 เหรียญสหรัฐฯ/ตัน) และขอเริ่มหีบอ้อยตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นไป

     


 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,456.72 เซนต์ (19.96 บาท/กก.) ลดลงจากบุชเชลละ 1,497.52 เซนต์ (20.24 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.72
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 445.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.63 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 452.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16.63 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.37
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 68.17 เซนต์ (56.04 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 69.57 เซนต์ (56.41 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.01


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.01 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 951.20 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 964.60 ดอลลาร์สหรัฐ (35.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 แต่คงที่ในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 732.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.01 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 742.60 ดอลลาร์สหรัฐ (27.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.35 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,279.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.17 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,297.40 ดอลลาร์สหรัฐ (47.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.39 แต่คงที่ในรูปเงินบาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 841.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 853.80 ดอลลาร์สหรัฐ (31.04 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.41 แต่คงที่ในรูปเงินบาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,246.60 ดอลลาร์สหรัฐ (45.96 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 1,263.80 ดอลลาร์สหรัฐ (45.95 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.36 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.43 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 62.46 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.26
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.93 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.59 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 11.96
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 67.10 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.60
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 62.10 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.64


 

 
ฝ้าย

   1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
    ราคาที่เกษตรกรขายได้
    ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ ไม่มีการรายงานราคา
    ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
     ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนตุลาคม 2565 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 95.93 เซนต์(กิโลกรัมละ 78.87 บาท) ลดลงจากปอนด์ละ 106.02 เซนต์ (กิโลกรัมละ 85.99 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.52 (ลดลงในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 7.12 บาท)



 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,768 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,758 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.57 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,358 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,325 บาทคิดเป็นร้อยละ 2.52 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 985 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาดมีสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  104.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 104.77 คิดเป็นร้อยละ 0.14 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 97.49 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 97.03 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 109.43 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 105.85 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 3,600 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 46.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.95 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.15 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 47.73 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 44.16 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 19.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 46.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 61.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาดสอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 345 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 328 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 354 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 345 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 385 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 384 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 395 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 365 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 415 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.55 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 100.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.35 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 98.58 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 101.78 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 93.38 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 80.61 บาท สูงขึ้นจาก กิโลกรัมละ 80.28 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.29 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 91.75 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 78.46 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน

 
 

 
 

 
ประมง

สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 19 - 25 กันยายน 2565) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.80 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 58.26 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.54 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.81 บาท ราคาสูงขึ้นเล็กน้อยจากกิโลกรัมละ 80.43 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.38 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 138.25 บาท ราคาลดลง
จากกิโลกรัมละ 140.84 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.59 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 132.50 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 135.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.25 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.36 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.89 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 210.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.86 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 40.00 และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา